Study BME in Thailand 2007

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิศวกรรมชีวการแพทย์ ในไทย

วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering)

วิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นศาสตร์แขนงใหม่เชิงสหวิชาการที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างวิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์ สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ และเคมีประยุกต์เชิงบูรณาการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและช่วย ในการออกแบบสร้างอุปกรณ์พิเศษที่จำเป็นต่อการบำบัดรักษา การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในประเทศสหรัฐอเมริกา วิศวกรรมชีวการแพทย์ แบ่งออกเป็น 9 สาขาย่อย ดังนี้

1. Bioinstrumentation เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ คุณสมบัติทางไฟฟ้า ที่บอกจำนวนหรือปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตในระดับอะตอมเซลล์ เนื้อเยื่อ หรือระดับอวัยวะ โดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ มาเป็นตัวกลางในการติดต่อกับเครื่องจักรกล ไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก หรือสัญญาณเสียง ซึ่งสร้างมาจากสิ่งมีชีวิต กระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายสิ่งมีชีวิต หรือมนุษย์
2. Biomaterials เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่มนุษย์ทำขึ้นมา ที่ประกอบด้วยทั้งหมดหรือบางส่วนของโครงสร้างสิ่งมีชีวิต หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งแทนที่การทำงานของอวัยวะเดิมได้ อาทิ ลิ้นหัวใจเทียม
3. Biomechanics เป็นการประยุกต์หลักทางกลศาสตร์เพื่อระบบของสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึงการวิจัยและการวิเคราะห์ทางกลศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตและการประยุกต์ ใช้หลักทางวิศวกรรมในสิ่งมีชีวิต
4. Cellular, Tissue and Genetic Engineering วิศวกรรมเนื้อเยื่อเป็นส่วนหลักในส่วนของเทคโนโลยีชีวภาพ หนึ่งในเป้าหมายหลักของวิศวกรรมเนื้อเยื่อคือ การผลิตอวัยวะเทียมจากวัสดุชีวภาพสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้อวัยวะปลูก ถ่าย โดยวิศวกรในสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์มีหน้าที่ในการวิจัยเพื่อหาวิธีมาผลิต อาทิ กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีการพัฒนากันอย่างแพร่หลายในห้องปฏิบัติการและประสบความ สำเร็จแล้วในการปลูกถ่ายเข้าไปในผู้ป่วย อวัยวะเทียมที่นำมาใช้ได้ทั้งจากการสังเคราะห์และวัสดุชีวภาพ อาทิ ตับเทียม
5. Clinical Engineering เป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมชีวการแพทย์ในการในการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์และ เทคโนโลยีต่างๆ ในสถานพยาบาล บทบาทหลักของ Clinical Engineering คือการให้ความรู้และควบคุมดูแลอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเลือกเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ การควบคุมการผลิต Clinical Engineer ยังสามารถให้ข้อมูลและความร่วมมือกับผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์
6. Medical Imaging เป็นสาขาที่ศึกษาเทคนิคหรือกระบวนการที่ใช้ในการสร้างภาพของร่างกายมนุษย์ หรือบางส่วนของร่างกาย และหน้าที่การทำงานร่างกาย เพื่อจุดประสงค์ทางคลินิก หรือทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
7. Orthopedic Engineering เป็นสาขาที่เน้นการทำให้โรคหรือการได้รับบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกทุเลาลง โดยการพัฒนาฟังก์ชั่นการทำงานทางกลศาสตร์ของวัสดุชีวภาพร่วมกับวิศวกรรม เนื้อเยื่อ
8. Rehabilitation Engineering เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมมาออกแบบ พัฒนา ดัดแปลง ทดสอบ ประยุกต์ใช้ และเผยแพร่เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียความสามารถต่างๆ ของร่างกาย (พิการ) งานวิจัยด้านนี้ครอบคลุมการเคลื่อนไหว การติดต่อสื่อสาร การได้ยิน การมองเห็น การจดจำ และการช่วยให้ผู้พิการสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
9. Systems Physiology เป็นสาขาที่รวมศาสตร์ทางการแพทย์ด้านต่างๆ เพื่อศึกษาโครงสร้าง ฟังก์ชันการทำงานของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะที่อธิบายถึงพฤติกรรมของระบบสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปการคำนวณทางสรีรวิทยาได้จากการรวมเทคโนโลยีและฟังก์ชั่นการทำงาน ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายสิ่งมีชีวิต อาทิ การหมุนเวียนเลือด การหายใจ เมตาบอลิซึม กลศาสตร์ชีวภาพ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบต่อมไร้ท่อ และอื่นๆ

ปัจจุบันมี 3 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คือ

มหาวิทยาลัย มหิดล
> http://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/
The Mahidol University Department of Biomedical Engineering (BME) was founded in 1998. Our teaching and research programs cover six major research and educational tracks:
1. Biosignal and Image Processing
2. Tissue Engineering and Drug Delivery System
3. Biomechanics and Rehabilitation Engineering
4. Advanced Computing in Medicine
5. Robotics and Computer-Integrated Surgery
6. Biosensors

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
> http://saturn.ee.psu.ac.th/neweeweb/course/undergraduate2.html

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
BME SWU > http://www.moothongonline.com/bme/
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
63 หมู่ 7 ถนนรังสิต-นครนายก ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก26120

Biomedical Engineering Programe
Faculty of Engineering Srinakharinwirot University
63 Moo7 Rangsit-Nakonnayok Rd. Ongkharak Nakonnayok 26120

Tel: +66-(0)2649-5460 or +66-(0)2649-5000 Ext 2013
Fax: +66-(0)3732-2604

------------------------------------------------

และ มี 9 มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในระดับปริญญาโท คือ

>มหาวิทยาลัย เชียงใหม่
( http://biomed.eng.cmu.ac.th/)
>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
( http://cubme.eng.chula.ac.th/index.php?q=academics/MEng )
>สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
(http://www.ee.kmitl.ac.th/viewpage.php?page=research&show=datagroup&article=bio)
>มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
( http://www.bioeng.kmutt.ac.th/programs/program1.php)
>มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
( http://www.bioeng.kmutt.ac.th/)
>มหาวิทยาลัย มหิดล
(
>มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
(http://saturn.ee.psu.ac.th/neweeweb/course/undergraduate2.html)
>มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
( http://bmeswu.thport.com/index.php?option=com_content&task=view&id=18&Itemid=1)
>มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
( http://www.med.engr.tu.ac.th/index.htm)

และมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาเอก 5 มหาวิทยาลัย คือ

>มหาวิทยาลัย เชียงใหม่
>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
>มหาวิทยาลัย มหิดล
>สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
>มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีการวิจัยและสนับสนุนการวิจัยด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ คือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ได้แก่

>ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
>ศูนย์พันธุ วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
>ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
>ศูนย์นาโน เทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

Source from > http://thaibme.wordpress.com/